IATF 16949 (ISO/TS 16949 New version)

ISO/TS 16949 ฉบับใหม่ประกาศใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2016 แล้ว และเปลี่ยนชื่อเป็น IATF 16949 

 

 

มาตรฐาน IATF 16949:2016 ประกาศใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2016 มีการเปลี่ยนแปลงจากฉบับร่างเล็กน้อย ซึงสามารถดูรายละเอียดฉบับร่างได้จากด้านล่างนี้

 

ในส่วนของ Transition Strategy rev 1 ซึ่งเป็นแนวทางในการอัพเกรด ได้ประกาศออกมาโดยมีรายละเอียดดังนี้

หลังจาก 1 ตุลาคม 2017 จะไม่มีการตรวจ ISO/TS 16949:2009 CB จะตรวจเป็น IATF 16949:2016 เท่านั้น

•จะต้องอัพเกรดภายใน ในรอบระยะเวลาการตรวจปกติ ซึ่งจะใช้จำนวนวันในการตรวจเท่ากับ Recertification Audit

•แต่หากไม่สามารถอัพเกรดในรอบการตรวจปกตินั้นได้ และกำหนดการอัพเกรดไม่เกิน 18 เดือนนับจากการตรวจครั้งที่แล้วจำนวนวันในการตรวจจะเท่ากับ Certification Audit โดยไม่ต้องมี stage1

•แต่หากเกิน 18 เดือนนับจากการตรวจครั้งที่แล้วจำนวนวันในการตรวจจะเท่ากับ Certification Audit โดยต้องมี stage1

- CB สามารถเริ่มให้การตรวจประเมิน IATF16949 ได้ตั้งแต่ 1 มค. 2017 เป็นต้นไป

- ไม่สามารถแยกตรวจ ISO9001:2015 ก่อนแล้วค่อยมาตรวจเพิ่ม ข้อกำหนดเสริมใน IATF16949 จะต้องทำการตรวจพร้อมกัน

- ไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลหลักฐาน 12เดือนของการสอดคล้องตามมาตรฐาน IATF นี้ก่อนตรวจปรับระบบ

- องค์กรไม่สามารถให้ CB มาทำ Gap Analysis หรือ Pre-audit ก่อน transition audit ได้

- การทำ management review และ internal audit นั้น ต้องทำตามมาตรฐาน IATF แต่อาจทำตามมาตรฐานเดิมและเพิ่มเติมเฉพาะข้อกำหนดใหม่ของมาตรฐานใหม่ได้

- ทุกโรงงานในกลุ่มบริษัทที่ขอรับรองแบบ corporate scheme ต้องส่งเอกสารของระบบที่ปรับให้สอดคล้องตามมาตรฐานใหม่นี้ให้ CB ทบทวนก่อนมาตรวจ เช่น QM, procedures

- ถ้าองค์กรใดได้รับการรับรอง ISO9001:2015 แล้ว จำนวนวันของการตรวจ transition นั้นสามารถลดลงได้ไม่เกิน 30% ของจำนวนวันตรวจทั้งหมดของstage2 แต่ต้องไม่เปลี่ยน scope และ CB แต่ถึงแม้ว่าองค์กรมีทั้ง TS16949 และ ISO9001:2015 ก็จะไม่มีการลดเพิ่ม

- องค์กรที่มี remote location ถ้าไม่สามารถตรวจประเมินก่อนโรงงานได้ ทางโรงงานต้องแสดงหลักฐานการทำ gap analysis ที่remote location และ action plan อย่างละเอียดที่ประกอบด้วย เวลา ผู้รับผิดชอบ สถานะของการดำเนินงานมิฉะนั้นทาง CB จะไม่สามารถตรวจประเมินโรงงานได้

 

รายละเอียดการเปลี่ยนแปลง IATF 16949 (ISO/TS 16949 New Version) ฉบับร่าง
 

·         ชื่อมาตรฐานใหม่ IATF 16949

·          ได้ทดลองตรวจประเมินเบื้องต้น (Gab Assessment) กับ Supplierโดยใช้มาตรฐานฉบับใหม่นี้ช่วง พฤษภาคม  และ มิถุนายน 2016 ที่ผ่านมา

·         IATF ตั้งเป้าให้ TS ฉบับใหม่นี้ เสร็จสมบูรณ์และประกาศใช้ใน ตุลาคม 2016

·         มีข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีซอฟแวร์ฝั่งตัวอยู่ภายในอุปกรณ์อิเลคทรอนิค

·         มีเรื่องการวิเคราะห์ชิ้นงานเสีย ที่มีเคลมจากผู้ใช้รถยนต์ที่เป็นแบบ NTF (No Trouble Found) คล้ายกับข้อกำหนดมาตรฐาน VDA 6.3 Process Audit 

·         มีความชัดเจนเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านการจัดการและพัฒนาผู้ส่งมอบระดับล่างลงมาที่ไม่ใช่ Tier 1 (sub-tier supplier)

 

4 บริบทขององค์กร (Context of the Organization)

          ข้อกำหนดเฉพาะลูกค้า (Customer Specific Requirements) ต้องถูกประเมินและรวมอยู่ในขอบข่ายของระบบการจัดการ

          ต้องมีกระบวนการที่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับการจัดการผลิตภัณฑ์และกระบวนการที่เกี่ยวกับความปลอดภัย (Product Safety) เช่น การกำหนดการควบคุมคุณลักษณะที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และ ณ จุดที่ผลิต การอนุมัติพิเศษสำหรับ Control plan และ PFMEA การฝึกอบรมเฉพาะสำหรับคนที่เกี่ยวข้อง การสอบกลับได้

5 ภาวะความเป็นผู้นำ

          ความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Responsibility) ต้องกำหนดนโยบายหลักปฏิบัติที่เหมาะสม (Code of conduct) สำหรับพนักงานและนโยบายการยกระดับจริยธรรม และนำไปปฏิบัติ เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

          นอกจากกำหนดอำนาจในการหยุดสายการผลิตแล้ว ยังเพิ่มการกำหนดอำนาจการหยุดการส่งมอบให้ลูกค้าด้วย

6 การวางแผน Planning

          การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk analysis) – ต้องทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยต้องครอบคลุมถึง การเรียกคืนสินค้า (Recall) ชิ้นงานที่มีข้อบกพร่องเมื่อผู้บริโภคใช้งาน (Field returns repairs) ข้อร้องเรียน (Complaints) ชิ้นงานเสียที่ต้องทำลายทิ้ง (Scrap) ชิ้นงานที่ต้องซ่อมแซม (Rework) ทั้งที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นและเกิดขึ้นแล้ว (Potential and actual)

          ระบุ ประเมินความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกสำหรับกระบวนการผลิตและอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด

          กำหนดแผนสำรองตามความเสี่ยงและผลกระทบที่มีต่อลูกค้า เช่น การติดขัดจากการส่งมอบของ supplier ภัยธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐาน

          มีกระบวนการแจ้งข่าวต่อลูกค้ากรณีที่มีผลกระทบต่อลูกค้า เช่น ขอบข่ายของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และ ระยะเวลาที่มีผลกระทบ

          ทดสอบประสิทธิผลของแผนสำรอง รวมถึงการจำลองสถานการณ์ (Simulation)

          ทบทวนและอัพเดทแผนดังกล่าว อย่างน้อยปีละครั้ง โดยใช้ทีมคละแผนก (Multidisciplinary team) รวมถึงผู้บริหารระดับสูง

          บันทึกการแก้ไขเปลี่ยนแปลงของแผนดังกล่าว และผู้มีอำนาจในการอนุมัติการเปลี่ยนแปลง

7 การสนับสนุน (Support)

          มีวิธีการระบุและขจัดความเสี่ยงสำหรับการจัดทำแผนโรงงาน สิ่งอำนวยความสะดวก และเครื่องจักรอุปกรณ์

          มีวิธีการประเมินความเป็นไปได้ในการผลิต และ ประสิทธิผลของการผลิต และ นำผลการประเมินนั้นเป็นส่วนหนึ่ง ในการทบทวนของผู้บริหาร

          ต้องมีการจัดเก็บบันทึกกิจกรรม การบำรุงรักษาสำหรับ ซอฟแวร์ทั้งหมดที่ใช้ในการควบคุมผลิตภัณฑ์และกระบวนการ (รวมถึงซอฟแวร์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องมือที่เป็นของลูกค้า และ พนักงาน)

          ต้องสร้างความตระหนักให้กับพนักงานทุกคนถึง ผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการทำงานของพนักงาน รวมถึง ข้อกำหนดเฉพาะของลูกค้า (CSRs) และความเสี่ยงที่เกี่ยวกับลูกค้าจากการได้รับผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

          ต้องมี QM

          กำหนดระยะเวลาการเก็บรักษาบันทึกที่กำหนดในคู่มือ PPAP (AIAG) เช่น บันทึกของ PPAP, Tooling  และ APQP, PO และ การเปลี่ยนแปลงจะต้องถูกจัดเก็บรักษาเป็นระยะเวลาตลอดอายุที่ชิ้นงานยังส่งออกเพื่อการผลิตและการบริการ บวก 1 ปี ปฏิทิน นอกจากจะกำหนดเป็นอย่างอื่นโดยลูกค้า หรือ กฎหมาย

          ไม่ได้กำหนดให้ทบทวนEngineering Specification ภายใน 2 สัปดาห์ทำงาน แล้ว (ย้ายไปอยู่ในหมายเหตุและใช้คำว่า ” ควร (Should) แทน )

8 การดำเนินงาน (Operation)

8.1 Operation planning and control

          เพิ่มเติมข้อกำหนดที่จะต้องนำมาวางแผนการสร้างผลิตผลิตภัณฑ์ คือ ข้อกำหนดด้านโลจิสติกส์ ความเป็นไปได้ในการผลิต (Manufacturing feasibility) การวางแผนโครงการ

8.2 Requirements for products and services

          การสื่อสารกับลูกค้า - พนักงานที่รับผิดชอบในการสื่อสารกับลูกค้า เช่น เรื่องการรายงานกำลังการผลิต การรายงานการแก้ไขป้องกัน ปัญหาที่ร้องเรียน ข้อมูลด้านโลจิสติกส์ และ customer portal จะต้องได้รับการอบรมเรื่องเหล่านั้น

8.3 Design and development of product and service

ในทุกขั้นตอนของการออกแบบเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์นั้นต้องใช้ทีมงานคละแผนก รวมถึงกิจกรรมต่อไปนี้

          การบริหารจัดการโครงการ

          การประเมินความเป็นไปได้ของการผลิต

          กิจกรรมการออกแบบร่วมกัน

          การกำหนด ติดตาม และกลยุทธ์การควบคุมจุด SC

          การจัดทำและทบทวน FMEA, Control plan, Process flow และ WI

          Inputs สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม เช่นขอบเขตและข้อกำหนดด้านการเชื่อมต่อ/ปฏิสัมพันธ์

          ทางเลือกในการออกแบบ, การประเมินความเสี่ยงของข้อกำหนด Inputs และความสามารถขององค์กรในการลดความเสี่ยง รวมถึงที่มาจากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้

          เป้าหมายของการสอดคล้องข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมถึงความสามารถในการบริการซ่อมแซม สุขภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม

          ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับซอฟแวร์ที่ฝั่งตัวอยู่ในอุปกรณ์อิเลคทรอนิค

          Inputs สำหรับการออกแบบกระบวนการผลิต เพิ่มเติม เช่นจุด SC, เป้าหมายด้านเวลา, ทางเลือกเทคโนโลยีด้านการผลิต, วัตถุดิบใหม่, ข้อกำหนดด้าน การเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ และ การยศาสตร์, การออกแบบเพื่อง่ายต่อการผลิตและการประกอบ (DFM, DFA)

          Outputs  ของการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพิ่มเติม เช่น 3D models ข้อมูลด้านเทคนิค ข้อมูลที่เกี่ยวกับการผลิตชิ้นงาน GD&T วิธีปฏิบัติสำหรับการให้บริการซ่อมแซม ข้อกำหนดสำหรับ service part และบรรจุภัณฑ์สำหรับการส่งมอบ

          Outputs  ของการออกแบบกระบวนการ เพิ่มเติม เช่น จุด SC, ตัวแปรกระบวนการที่ส่งผลต่อคุณลักษณะ, เครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการผลิตและการควบคุม (รวมถึงการศึกษาความสามารถของอุปกรณ์เหล่านั้น ), การวิเคราะห์กำลังการผลิต, แผนการบำรุงรักษาและวิธีปฏิบัติ, การแก้ไขเบื้องต้นเมื่อพบสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

8.4 Control of externally provided processes products and services

          กำหนดกระบวนการคัดเลือก Supplier โดยการประเมิน QMS ของ Supplier, การประเมินความเสี่ยงของ Supplier  Risk และใช้ทีมงานคละแผนกในการคัดเลือก

          กำหนดเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการคัดเลือก Supplier เช่น ประวัติคุณภาพ, ความมั่นคงด้านการเงิน, ความสามารถในการออกแบบ, กำลังการผลิต, การวางแผนธุรกิจให้มีความต่อเนื่อง, และ เกณฑ์อื่นๆ อีกหลายข้อ

          กำหนดให้ supplier ต้องมีระบบประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มีซอฟแวร์ฝั่งอยู่

          กำหนดให้การติดตามสมรรถนะของ supplier นั้นครอบคลุมถึงการตรวจประเมิน 2nd Party และ ถ้ากำหนดให้มีการตรวจประเมิน 2nd Party จะต้อง surveillance อย่างน้อยปีละครั้ง

          กำหนดให้มีมาตรการพัฒนา supplier ตามเกณฑ์ต่างๆ เช่น ปัญหาสมรรถนะ, ปัญหาจากการตรวจประเมิน 2nd Party และ 3rd Party เป็นต้น

          กำหนดให้องค์กรส่งต่อข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และคุณลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ให้ supplier เพื่อนำไปกระจายลงสู่ supply chain ณ จุดผลิต

8.5 Production and services provision

          ทบทวน Control plan เมื่อมีการดำเนินการแก้ไขป้องกันข้อร้องเรียนลูกค้า

          ทบทวนและอัพเดทเป็นประจำโดยไม่เกิน 1 ปี

          มาตรฐานการทำงาน (Standardized  Work/Operator instruction & visual standards)ครอบคลุมถึงกฎความปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้วย

          กำหนดและดำเนินมาตรการทวนสอบหลังมีการหยุดการผลิต ตามที่วางแผนไว้ (planned shutdown) หรือหยุดโดยที่ไม่ได้วางแผน (unplanned shutdown)

          Total Productive Maintenance (TPM)

          กำหนดเป้าหมายด้านการบำรุงรักษาเป็นเอกสารรวมถึง OEE (Overall Equipment Effectiveness), MTBF (Mean time Between Failure), MTTR (Mean Time To Repair) และต้องนำข้อมูลเหล่านี้เข้าสู่การทบทวนของผู้บริหาร

          เพิ่มเติมตัวอย่างกิจกรรมการทำ PM และ Predictive maintenance

          การ overhaul เครื่องจักร

          การวางแผนการผลิต (Production scheduling) ต้องพิจารณาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กำลังการผลิต ภาระการผลิตที่ใช้ร่วมกัน, Lead time, ระดับของสินค้าคงคลัง

          ผู้บริหารระดับสูงต้องกำหนดมอบหมายบุคคลากรหนึ่งคนและตัวสำรองจัดการข้อมูลของลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการผลิต รวมถึงข้อมูล EDI และต้องจัดเก็บบันทึกการฝึกอบรมสำหรับบุคลากรดังกล่าว (Training Record)

8.7 Control of nonconforming outputs

          พนักงานในสายการผลิตต้องได้รับการฝึกอบรมเรื่องการควบคุมชิ้นงานที่ต้องสงสัยและไม่ได้ตามข้อกำหนด

          การซ่อมแซมชิ้นงานที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและข้อกำหนดกฎหมายจะต้องได้รับการอนุมัติจากลูกค้าก่อน

          ใช้ FMEA ในการประเมินความเสี่ยงสำหรับกระบวนการซ่อมแซม (Rework process) ชิ้นงานก่อนตัดสินใจดำเนินการซ่อมแซม

          กำหนดกระบวนการจัดการชิ้นงานที่ไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดที่ไม่ได้นำไปซ่อมแซม สำหรับชิ้นงานที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และกฎหมาย จะต้องทำลายทิ้งจนไม่สามารถใช้งานได้แล้ว ก่อนนำไปทิ้งขยะ

9 การประเมินสมรรถนะ (Performance evaluation)

          ในการติดตาม วัดประเมิน กระบวนการผลิตนั้น รวมถึง การนำ PFMEA ไปปฏิบัติด้วย

          กรณีที่กระบวนการผลิตไม่สอดคล้องตามเกณฑ์การยอมรับที่กำหนด ต้องมีแผนการแก้ไข และ กระบวนการยกระดับปัญหา (Escalation process)

          กำหนดการใช้เครื่องมือทางสถิติใน DFMEA และ PFMEA

          การติดตามความพึงพอใจลูกค้า รวมถึงข้อมูล Warranty, recall และต้องทบทวนข้อมูลสมรรถนะที่ลูกค้าจัดทำให้ผ่านทางเว็บออนไลน์ (online customer portal)  และใบประเมินผลสมรรถนะจากลูกค้า (scorecards)

          ถ้าองค์กรใดรับผิดชอบสำหรับการพัฒนาซอฟแวร์ องค์กรนั้นต้องครอบคลุมถึง การประเมินความสามารถในการพัฒนาซอฟแวร์ ในแผนการตรวจประเมินภายในด้วย

          Manufacturing process audit ต้องครอบคลุมถึงการสุ่มตรวจเรื่องการต่อกะ และต้องตรวจประเมินประสิทธิผลในการนำ PFMEA, Control plan มาใช้ในการควบคุมกระบวนการ

          กำหนดความสามารถของ internal auditor เช่น ความรู้ core tools, process approach, เข้าใจผลกระทบต่อลูกค้าจากปัญหาของชิ้นงานและกระบวนการ, เข้าใจการควบคุมผลิตภัณฑ์และกระบวนการ

          Management review ต้องทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ความถี่ของการทบทวนต้องเพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อ QMS และ ประเด็นที่เกี่ยวกับสมรรถนะขององค์กร

          Review inputs เพิ่มเรื่อง การวางแผนสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์เพื่อให้มั่นใจว่ามีความเป็นไปได้ในการผลิต แผนการจัดทำ PM และ Predictive M/T, ผลการดำเนินงาน Warranty, customer, scorecards, Potential field failures จากการวิเคราะห์ FMEA

10 การปรับปรุง (Improvement)

          ต้องมีกระบวนการในการพิจารณาการใช้เทคนิค ตัวกันโง่, รายละเอียดการนำไปใช้และความถี่ในการทดสอบจะต้องระบุไว้ใน PFMEA และ Control plan

          ต้องจัดเก็บบันทึกการทดสอบอุปกรณ์ตัวกันโง่ในกรณีที่มีความล้มเหลว และชิ้นงานมาสเตอร์ที่ใช้ทดสอบนั้นต้องได้รับการชี้บ่ง และ สอบเทียบ

          ต้องมีแผนแก้ไขในกรณีที่อุปกรณ์ตัวกันโง่ทำงานล้มเหลว

          กำหนดระบบการจัดการ Warranty และขั้นตอนสำหรับการวิเคราะห์ชิ้นงาน Warranty รวมถึง กระบวนการ NTF (No Trouble found)

          ประยุกต์ใช้ lesson learned เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ